ชิวาวา หมาตัวจิ๋วแต่แจ๋ว กับความแสบซนไม่เป็นรองใคร

ทำความรู้จักกับ ชิวาวา น้องหมาตัวจิ๋วแต่เจ๋ว หน้าตาบ้องแบ๊ว เห็นแล้วอยากอุ้มไปเดินเล่น พร้อมวิธีเลี้ยงเจ้าตูบแสนซนพตัวนี้

หากพูดถึงสุนัขพันธุ์เล็กที่คนนิยมเลี้ยงกันแล้ว สุนัขพันธุ์ชิวาวาน่าจะอยู่ในใจของใครหลายคนอย่างแน่นอน ด้วยความน่ารักซุกซนและฉลาดแสนรู้ของสุนัขพันธุ์นี้ ทำให้มีคนจำนวนไม่น้อยที่อยากมีเจ้าชิวาวาเลี้ยงไว้ในบ้านสักตัว (หรืออาจจะหลายตัว) แต่ก่อนอื่นเราอยากจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับสุนัขสายพันธุ์นี้กันก่อนจะเอาพวกมันมาเลี้ยงหรืออยากเข้าใจพวกมันมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็ไปดูกันเลย

ต้นกำเนิดของสุนัขชิวาวานั้นไม่ค่อยแน่ชัด โดยชื่อของสุนัขพันธุ์นี้ถูกตั้งตามชื่อรัฐชิวาวาของเม็กซิโก ที่ถูกต้นพบเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1850 ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานกันว่าชาวแอซเท็กหรืออินคาน่าจะเป็นผู้พัฒนาสุนัขสายพันธุ์นี้ขึ้นมา ในขณะที่บางส่วนก็สันนิษฐานว่าชิวาวาอาจสืบเชื้อสายมาจากสุนัขสเปนตั้งในแต่ช่วงปี 1500s

สัตว์เลี้ยง-ชิวาวา

สุนัขชิวาวาตัวแรกเริ่มเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 และกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นหลังงจากประธานาธิบดีเม็กซิโกมอบมอบสุนัขชิวาว่าพร้อมช่อดอกไม้เป็นของขวัญให้กับนักร้องโอเปร่านามว่า อเดลินา แพตตี (Adelina Patti) อีกทั้งยังเคยปรากฎตัวบนเวทีพร้อม ซาเวียร์ คูแกต (Xavier Cugat) นักดนตรีชาวสเปน ขณะกำลังทำการแสดง และยังปรากฎอยู่ในโฆษณาร้านอาหาร Taco Bell ทำให้เริ่มเป็นที่รู้จักและชื่นชอบมากขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้

อ่านข่าวเพิ่มเติม : สุดปลื้ม ! “เด็กพะยูนกำพร้า” คว้าเต่าตนุเป็นแม่ ‘อาจารย์ธรณ์’

สุดปลื้ม ! “เด็กพะยูนกำพร้า” คว้าเต่าตนุเป็นแม่ ‘อาจารย์ธรณ์’

เผยภาพน่าทึ่ง น่าเอ็นดู “ลูกพะยูนน้อยได้แม่ใหม่เป็นเต่าตนุ” ขณะกำลังว่ายเกาะอยู่บนหลังเต่าตนุ ที่อ่าวดงตาล อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

เมื่อเร็วๆ นี้จากเพจเฟซบุ๊ค Sakanan Plathong โดยอาจารย์บอย ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง แห่งภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาจารย์ธรณ์ ยกเป็นช็อตเด็ดในท้องทะเลไทยซึ่งสะท้อนถึงโลกโหดร้ายขึ้น แต่ยังดีที่มีปาฎิหาริย์

เต่าใหญ่ระดับป๋าขนาดเมตรกว่านี้ ถ้าไม่ช่ำชองพื้นที่ ไม่รู้ว่าที่ไหนปลอดภัย ไม่ปลอดภัย คงติดอวนตายไปนานแล้ว

 

เต่าที่นี่รู้เส้นทางว่าที่ไหนปลอดภัย อะไรกินได้ กินไม่ได้ หญ้าทะเลอยู่ตรงไหน เดี๋ยวพาไปกิน ปลอดภัยกว่าอยู่กับคน

สัตว์เลี้ยง

ด้าน ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แชร์ภาพบนเพจส่วนตัว Thon Thamrongnawasawat กล่าวว่า “อาจารย์บอยโชว์ภาพลูกพะยูนกับเต่าตนุที่อ่าวดงตาล ลูกพะยูนว่ายเกาะอยู่บนหลังน่ารักมาก”

ธรรมชาติของลูกพะยูน เมื่ออยู่กับแม่ จะลอยตัวเหนือแม่เพราะภัยอันตรายจะมาจากด้านล่าง เช่น ฉลามจู่โจม ศัตรูทางธรรมชาติจากด้านบนไม่มี เพราะไม่มีนกกินพะยูน

การอยู่ด้านบนยังมีแม่คอยหนุนเวลาโผล่หายใจ เป็นพฤติกรรมของลูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในทะเลทั้งหลาย ตั้งแต่เริ่มเกิด
เมื่อเกิดพลัดหลงกับแม่ด้วยสาเหตุต่างๆ ลูกพะยูนจะหาสัตว์ใหญ่ที่ยอมรับตัวเองให้เข้าไปอยู่ด้วย

ปรกติยากมากครับ พะยูนตัวอื่นก็คงไม่เอาด้วย อีกทั้งภาพนี้มาจากอ่าวดงตาล สัตหีบ แม้มีรายงานเรื่องพะยูนเป็นระยะ แต่ไม่ได้มีมากขนาดนั้น

สัตว์ใหญ่ที่โผล่ขึ้นมาหายใจเป็นระยะ คงมีแต่เต่าตัวใหญ่ที่มีอยู่พอสมควร เนื่องจากพื้นที่สัตหีบมีเกาะคราม เกาะแห่งเต่าอันดับหนึ่งของไทย

ลูกพะยูนสับสนในชีวิต กลัวไปหมดทุกอย่าง เมื่อว่ายไปเจอเต่าตนุ จึงขออยู่ด้วย

แม่หนูหายไปไหนก็ไม่รู้ ขอหนูอยู่ด้วยคนได้ไหม ? ลูกพะยูนคงร้องขอเต่าด้วยเสียงสะอื้น

เต่าใหญ่คงไม่ว่าอะไร อยากอยู่ก็อยู่ไปนะหนูเอ๊ย จึงกลายเป็นภาพที่เด็ดขาดมาก การพึ่งพาของ 2 ชีวิต

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม คลิ๊กเลย >> “วินด์เซอร์” เอาใจเหล่าทาส เปิดตัวมุ้งไวนิล “Pet Friendly” ในงาน Pet Expo 2022