เรียกร้องให้ ‘จีน’ มองไกลกว่า GDP เพื่อจัดการ ‘ความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ’

นักเศรษฐศาสตร์เรียกร้องให้ ‘จีน’ มองไกลกว่า GDP เพื่อจัดการ ‘ความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ’

นักเศรษฐศาสตร์เรียกร้องให้ ‘จีน’ ตั้งเป้าหมายทางเศรษฐกิจให้ไกลกว่า GDP เพื่อจัดการ ‘ความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ’ หลังรายงานใหม่ชี้ว่าโมเดลการพัฒนาแบบเก่า ซึ่งช่วยทำให้เศรษฐกิจจีนโตอย่างรวดเร็วในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา กำลังทำให้โลกตกอยู่ใน ‘ความเสี่ยงร้ายแรง’

ทีมนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำระดับโลกเรียกร้องให้จีนใช้โมเดลการพัฒนาแบบใหม่ โดยยึดความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) มากกว่าการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ​ในปี 2060 และหลีกเลี่ยงภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เศรษฐศาสตร์

ทีมนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งรวมถึงอดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารโลก (World Bank) 2 ท่าน เรียกร้องให้จีนกำหนดเพดานการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหมด และกำหนดเส้นทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยละเอียด

นิโคลัส สเติร์น (Nicholas Stern) หนึ่งในผู้เขียนรายงาน และประธาน Grantham Research Institute on Climate Change and the Environment ในอังกฤษ เปิดเผยว่า ทีมงานได้ส่งรายงานและคำแนะนำไปถึงรัฐบาลจีนแล้ว พร้อมคาดหวังว่ารายงานฉบับนี้จะมีบทบาทในแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ 5 ปี ฉบับปี 2026-2030

ในรายงานยังระบุว่า โมเดลการพัฒนาแบบเก่าทำให้จีนเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา แต่กำลังทำให้โลกตกอยู่ในความเสี่ยงร้ายแรง

พร้อมทั้งเรียกร้องให้จีนให้ความสำคัญกับการขนส่งสาธารณะมากขึ้น และกำหนดตารางเวลาสำหรับการกำจัดยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล นอกจากนี้จีนยังควรส่งเสริมการเกษตรแบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งรวมถึงเนื้อสัตว์จากพืชและนมจากพืช (Plant-based Meat and Dairy) ด้วย

ในปี 2005 จีนมีโครงการ GDP สีเขียว (Green GDP) จากความกังวลเกี่ยวกับความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว โดยในรายงานของรัฐบาลเมื่อปี 2006 สรุปว่า การสูญเสียด้านสิ่งแวดล้อมคิดเป็น 3% ของ GDP แต่นักวิจารณ์เชื่อว่าตัวเลขที่แท้จริงนั้นสูงกว่ามาก

แม้ว่าโครงการ Green GDP จะถูกยกเลิกในปี 2009 แต่ในปี 2013 จีนสัญญาว่าจะละทิ้งโมเดล ‘การเติบโตในทุกด้าน’ (Growth at All Costs) และกล่าวว่า GDP จะไม่เป็นเกณฑ์เดียวในการประเมินของเจ้าหน้าที่อีกต่อไป

เมื่อเร็วๆ นี้ ในบางมณฑลพยายามที่จะสร้างตัวชี้วัดใหม่อีกครั้ง เพื่อสะท้อนถึงต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมของการพัฒนา โดยมณฑลหูเป่ยทางตอนกลางของจีนก็เริ่มใช้ ‘ผลิตภัณฑ์มวลรวมของระบบนิเวศ’ (Gross Ecosystem Product: GEP) ด้วย

ติดตามข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ : “สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด” เล็งจ้างพนักงานเพิ่ม 500 อัตรา ขานรับฮ่องกงเปิดพรมแดน

“สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด” เล็งจ้างพนักงานเพิ่ม 500 อัตรา ขานรับฮ่องกงเปิดพรมแดน

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมีแผนจ้างพนักงานเพิ่ม 300-500 คนในฮ่องกงปีนี้

โดยคาดว่ากิจกรรมด้านการบริหารความมั่งคั่งและการปล่อยสินเชื่อจะเพิ่มขึ้น หลังฮ่องกงเปิดพรมแดนต้อนรับจีนแผ่นดินใหญ่ โฆษกของสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดระบุว่า ทางธนาคารคาดว่ารายได้จากการบริหารความมั่งคั่งจะเพิ่มขึ้นในระดับตัวเลข 2 หลัก ขณะที่รายได้จากการปล่อยสินเชื่อจะเพิ่มขึ้นในระดับตัวเลข 1 หลัก โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จำนวนพนักงานของทางธนาคารฯ ในฮ่องกงมีจำนวนอยู่ระหว่าง 5,500-5,800 คน

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด

สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดระบุว่า หน่วยบริหารความมั่งคั่งของธนาคารมีกำไรจากการดำเนินงานลดลง 23% ในไตรมาสที่ 4/2565 เนื่องจากมาตรการสกัดโควิด-19 ส่งผลเสียต่อการขายแบบต่อหน้า ตลอดจนภาวะตลาดที่ผันผวนทำให้การทำธุรกรรมลดลง ทำให้กำไรก่อนหักภาษีสำหรับตลาดหลักในฮ่องกงลดลงประมาณ 9% สู่ระดับ 1.08 พันล้านดอลลาร์ในปี 2565

ทั้งนี้ การเปิดพรมแดนเป็นปัจจัยให้กิจการกลุ่มธนาคารมีมุมมองเชิงบวกทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก โดยยูบีเอส กรุ๊ป คาดการณ์ว่าจะมีแผนกความมั่งคั่งหลักเพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชียในปีนี้ ขณะที่มอร์แกน สแตนลีย์ระบุเมื่อเดือนที่แล้วว่า ลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งของบริษัทฯ มีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจจีนอย่างมาก

อ่านข่าวเพิ่มเติม : ผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวตุรกีพุ่งไม่หยุด ล่าสุดทะลุ 21,000 ศพ

ผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวตุรกีพุ่งไม่หยุด ล่าสุดทะลุ 21,000 ศพ

ผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวที่ตุรกียังคงมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด สื่อรายงานว่า ขณะนี้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 21,000 รายจากเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าว โดยเป็นผู้เสียชีวิตในตุรกีจำนวน 18,342 ราย และซีเรียจำนวน 3,300 ราย ขณะที่บาดเจ็บเกือบ 75,000 ราย

ข่าวเศรษฐศาสตร์ใหม่

จำนวนผู้เสียชีวิตดังกล่าวเป็นไปตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะมีมากกว่า 20,000 ราย ขณะที่สภาพอากาศที่หนาวเย็นและการเกิดอาฟเตอร์ช็อกเป็นอุปสรรคต่อปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากอาคารที่พังถล่มลงมา

ทั้งนี้ เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ตุรกีในครั้งนี้นับเป็นภัยพิบัติที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิถล่มญี่ปุ่นในปี 2554 ข่าวเศรษฐศาสตร์เพิ่มเติม>>> สหรัฐฯเริ่มกระทืบรัสเซียให้ย่อยยับ ตั้งแต่ก่อนใช้‘แผนขยายองค์การนาโต้’มาประชิดติดแดนหมีขาวด้วยซ้ำ

สหรัฐฯเริ่มกระทืบรัสเซียให้ย่อยยับ ตั้งแต่ก่อนใช้‘แผนขยายองค์การนาโต้’มาประชิดติดแดนหมีขาวด้วยซ้ำ

ประธานาธิบดีจอร์จ บุช ของสหรัฐฯ และประธานาธิบดีบอริส เยตซิน ของรัสเซีย จับมือกันภายหลังลงนามในสนธิสัญญา START-2 ซึ่งถือเป็นสนธิสัญญาลดกำลังอาวุธทางยุทธศาสตร์ฉบับสร้างประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 1993

กระทั่งก่อนการขยายองค์การนาโต้ออกมาประชิดติดแดนหมีขาวด้วยซ้ำไป สหรัฐฯและฝ่ายตะวันตกก็หาทางบีบคั้นทำให้เศรษฐกิจรัสเซียอยู่ในสภาพพิกลพิการ ในช่วงที่สหภาพโซเวียตกำลังล่มสลาย

การโจมตีเล่นงานรัสเซียของฝ่ายตะวันตกระลอกแรกสุดในยุคหลังสงครามเย็น เริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 แล้ว นานทีเดียวก่อนหน้าที่พวกเขาจะใช้หมัดเด็ดหนักหน่วงอีกหมัดหนึ่งอย่างการขยายองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) การโจมตีเล่นงานที่ว่านี้อยู่ในรูปของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในรัสเซียที่สหรัฐฯเป็นผู้โน้มนำให้เกิดขึ้นมา โดยสิ่งซึ่งเกิดขึ้นในแดนหมีขาวตอนนั้นมีความลึกล้ำยิ่งกว่าและสร้างความหายนะหนักหน่วงกว่า “ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่” (Great Depression) ที่สร้างความวิบัติให้สหรัฐฯในช่วงทศวรรษ 1930

มันเกิดขึ้นในตอนที่ชาวรัสเซียยังกำลังพูดจาอย่างไร้เดียงสาเกี่ยวกับแนวความคิดในการสร้าง “บ้านเกิดเมืองนอนร่วมกันของชาวยุโรป” (common European home) และโครงสร้างความมั่นคงร่วมของยุโรป ที่จะรวมเอารัสเซียเข้าไว้ด้วย

“วิธีบำบัดรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้า” ที่มีฝ่ายตะวันตกเป็นผู้คอยกำกับดูแล

ขนาดขอบเขตของภัยพิบัติทางเศรษฐกิจคราวนั้น ถูกแจกแจงเอาไว้อย่างกระชับในบทความที่เผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ทางนิวยอร์กไทมส์ เขียนโดย พอล ครุกแมน (Paul Krugman) ผู้ซึ่งแสดงความสงสัยว่ามีชาวอเมริกันมากน้อยแค่ไหนที่ตระหนักรับรู้ถึงความหายนะอย่างมโหฬารที่เกิดขึ้นกับรัสเซียคราวนั้น ครุกแมนถูกต้องแม่นยำทีเดียวในการบรรยายถึงสิ่งที่เกิดขึ้น –ทว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้นในการระบุถึงสาเหตุของมัน

กราฟข้างล่างนี้แสดงให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับรัสเซียเมื่อตอนเริ่มต้นในช่วงต้นทศวรรษ 1990 โดยเป็นผลลัพธ์ของนโยบายเศรษฐกิจต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ภายใต้การชี้นำของพวกที่ปรึกษาสหรัฐฯ ซึ่งบางทีนักเศรษฐศาสตร์ เจฟฟรีย์ แซคส์ (Jeffrey Sachs) อาจจะเป็นคนเด่นที่สุดกว่าใครเพื่อน

เศรษฐศาสตร์ สหรัฐฯเริ่มกระทืบรัสเซียให้ย่อยยับ

นโยบายเหล่านี้ขับดันรัสเซียอย่างปัจจุบันทันด่วน ให้ก้าวจากเศรษฐกิจแบบมีการวางแผนจากส่วนกลางและมีการควบคุมราคา มาเป็นเศรษฐกิจที่ราคาถูกวินิจฉัยตัดสินโดยตลาด กระบวนการนี้มักถูกเรียกกันว่าเป็น “วิธีบำบัดรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้า” (shock therapy)

จากเส้นกราฟ แสดงให้เห็นว่า ตอนเริ่มต้น “การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้า” ในปี 1991 เศรษฐกิจของรัสเซียคว่ำคะมำลงมาอยู่ที่ 57% ของระดับที่มันเคยอยู่ในปี 1989 นั่นคือทรุดตัวลง 43% เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว เศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ของทศวรรษ 1930 ไหลรูดลงมาอยู่ที่ 70% ของระดับก่อนเศรษฐกิจตกต่ำของมัน หรือทรุดตัวลง 30%

ความคาดหมายการคงชีพ (Life expectancy) หล่นลงมาราวๆ 4 ปีในรัสเซียระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว ความยากจนและความสิ้นหวังกลายเป็นบรรทัดฐานปกติ จากประสบการณ์ของผมเอง มีชาวอเมริกันไม่กี่คนเท่านั้นที่ทราบเรื่องนี้ และยิ่งน้อยลงไปอีกที่ยังคงเข้าอกเข้าใจขนาดขอบเขตของมัน

ทำไมโปแลนด์จึงทำได้ดีกว่า

ในกราฟข้างบนนี้ ยังนำเอาข้อมูลของโปแลนด์มาแสดงเอาไว้ด้วยเพื่อการเปรียบเทียบกัน ทำไมล่ะ? เพราะมีการนำเอา “การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้า” มาใช้ในโปแลนด์ด้วย โดยเริ่มต้น 2 ปีก่อนหน้ารัสเซีย นั่นคือในปี 1989

เพียงแค่เหลือบมองกราฟข้างบน ก็สามารถสังเกตเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างเส้นกราฟของประเทศทั้งสอง ยิ่งกราฟในตารางข้างล่างนี้ด้วยแล้ว ก็ยิ่งเน้นย้ำให้ต้องคิดเห็นเช่นนั้น กราฟที่อยู่ข้างล่างนี้ แสดงมูลค่าจีดีพีแท้จริง (real GDPs) ของทั้งรัสเซียและโปแลนด์ ที่มีการแปลงให้ปีแรกที่พวกเขาเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด มีมูลค่าเท่ากับ 100 ทั้งนี้กราฟนี้ได้มาจากผลงานการวิจัยของเจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟในปี 2001 ซึ่งเขียนโดย เจอราร์ด โรแลนด์ (Gerard Roland) เรื่อง “Ten Years After … Transition and Economics.” 
(โรแลนด์ ยังนำเอา จีน เข้ามาใส่ไว้ในกราฟนี้ด้วย บทเรียนอย่างหนึ่งที่ได้ก็คือ จีนเคลื่อนเข้าสู่เศรษฐกิจแบบตลาดโดยที่ไม่ได้ผ่าน “การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้า” และกระทำเช่นนั้นได้อย่างประสบความสำเร็จอย่างน่าตื่นตะลึง โดยที่ไม่ต้องเอาตัวเองเข้าไปขึ้นต่อความเมตตาที่จะแบ่งปันให้ของสหรัฐฯ)

Roland, Gérard. “Ten Years after … Transition and Economics.” IMF Staff Papers 48 (2001): 29–52.จากกราฟนี้ มันกระจ่างชัดเจนในฉับพลันว่า โปแลนด์ ผ่านระยะตกต่ำช่วงสั้นๆ กินเวลาราว 2 ปีก่อนจะฟื้นตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ไม่เหมือนกับรัสเซีย ซึ่งยังคงอยู่ในอาการหล่นฮวบฮาบอยู่ถึง 16 ปี ทำไมสองประเทศนี้จึงมีความแตกต่างกันเช่นนี้?

ส่วนใหญ่ๆ ของคำตอบในเรื่องนี้ ได้จาก เจฟฟรีย์ แซคส์ ผู้อยู่ในแถวหน้าของพวกที่ปรึกษาซึ่งให้คำแนะนำเกี่ยวกับระยะเปลี่ยนผ่านของประเทศทั้งสอง และด้วยเหตุนี้จึงเป็นผู้ที่ทราบดีเกี่ยวกับสิ่งที่เขาพูด ทั้งนี้ แซคส์ พูดเอาไว้ในการให้สัมภาษณ์แก่รายการข่าวออนไลน์ “เดโมเครซี นาว!” (Democracy Now!) ว่า เขาอยู่ตรงนั้นด้วยในระหว่าง “การทดลองแบบมีการควบคุม” ซึ่งเขาสามารถสังเกตการณ์มองเห็นว่าอะไรที่นำไปสู่ผลลัพธ์ซึ่งออกมาแตกต่างกันมากมายเช่นนี้

ข่าวเศรษฐศาสตร์เพิ่มเติม>>>>หลุด! คลิปปลัด มท.ด่า ขรก.กลางที่ประชุมเหยียด ม.เอกชน ที่เรียนจบ ประชดภูเก็ตถอนตัวเจ้าภาพ Expo

หลุด! คลิปปลัด มท.ด่า ขรก.กลางที่ประชุมเหยียด ม.เอกชน ที่เรียนจบ ประชดภูเก็ตถอนตัวเจ้าภาพ Expo

คลิปว่อน “สุทธิพงษ์ จุลเจริญ” ปลัดมหาดไทย ด่าข้าราชการด้วยถ้อยคำหยาบคาย กลางที่ประชุม

ไม่เข้าใจเศรษฐศาสตร์ เหยียดจบ ป.ตรี ม.เอกชน เรียนโทจุฬาฯ ภาคค่ำ แถมประชดให้ภูเก็ตถอนการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ Specialised Expo เพราะไม่จัดการสิ่งแวดล้อม

วันนี้ (30 ธ.ค.) รายงานข่าวเปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีการการเผยแพร่คลิปการประชุมผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ผ่านระบบวิดีทัศน์ทางไกล ซึ่งมี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน โดยเนื้อหาของคลิปตอนหนึ่งนายสุทธิพงษ์ ได้ตำหนิการชี้แจงของข้าราชการที่ได้แจ้งเกี่ยวกับการส่งเสริมสินค้าเกษตร หลังจากมีคำสั่งซื้อจากกรมราชทัณฑ์

โดย นายสุทธิพงษ์ ได้ทำการสอบถามผู้ชี้แจงว่า อุปสงค์เท่ากับอุปทานภาษาเศรษฐศาสตร์เรียกว่าอะไร ทำให้ผู้ชี้แจงตอบว่า คือ Demand และ Supply ทำให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวเราะเยาะ แล้วถามข้าราชการคนดังกล่าวว่าเรียนจบอะไรมา ข้าราชการคนนั้นได้ตอบว่า จบปริญญาโทรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ปลัด มท.จึงถามต่อว่า ทำไมโง่อย่างนั้น คุณรุ่นอะไร ข้าราชการคนดังกล่าวได้ตอบว่า รัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ปลัด มท.ได้ตำหนิว่า โง่เป็นควายเลย ไอ้เ-ี้ยเอ๊ย และถามว่า เข้ารุ่นอะไร ได้รับคำตอบว่าเข้าตอนเรียนปริญญาโท ปลัด มท.จึงร้องว่า “กูว่าแล้ว” และกล่าวว่า คนที่เรียนรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เขาเรียนเศรษฐศาสตร์ 2 ตัว ถ้าอุปสงค์เท่ากับอุปทาน เขาเรียกว่า ตลาดสัมบูรณ์ ที่บอกว่าความต้องการของราชทัณฑ์เท่ากับซัปพลายของภาคเกษตรมันไม่ใช่ ถ้าใช่เราจะส่งออกสินค้าเกษตรทำไม เพราะมีตลาดสัมบูรณ์แล้ว ไม่ต้องช่วยอะไรแล้ว

จากนั้นปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ถามกลับไปยังข้าราชการคนเดิมว่าเรียนจบปริญญาตรีจากที่ไหน ทำให้ข้าราชการคนนั้นตอบกลับว่า มหาวิทยาลัยสยาม เมื่อได้ยิบปุ๊บนายสุทธิพงษ์ จึงบอก “โอ กูว่าแล้ว” ก่อนจะถามย้อนไปอีกว่า เรียนปริญญาโทรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ภาคผู้บริหาร หรือภาคปกติ ข้าราชการจึงแจ้งว่า เป็นหลักสูตรหลังเลิกเรียน
เมื่อได้ยินการชี้แจงแล้วปลัดกระทรวงมหาดไทย จึงหัวเราะออกมาอีกครั้ง และตำหนิว่าให้กลับไปคุยกับคณบดีให้ดี ก่อนจะบอกทิ้งท้ายว่า มหาวิทยาลัยสมัยนี้ชอบหาเงิน เปิดหลักสูตรอะไรไม่รู้มั่วไปหมด

ขณะเดียวกัน ยังมีการเผยแพร่คลิปวิดีโออีกคลิป ซึ่ง นายสุทธิพงษ์ ตำหนิจังหวัดภูเก็ต ถึงการแผนการบริหารจัดการขยะของจังหวัดภูเก็ต โดยระบุว่า ที่อธิบายมาผิด เพราะแผนของการขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะ ไม่ใช่แค่การจัดทำหรือรณรงค์ให้คนทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน และบอกว่าเมื่อฟังคำถามไม่เข้าใจแล้วจะไปทำงานได้ถูกหรือไม่

พร้อมกันนี้ ยังแจ้งว่า ให้ฝากไปบอกผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตด้วยว่า ปลัดกระทรวงมหาดไทย ชื่อ สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ขอร้องให้ถอนตัวออกจากการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน Specialised Expo 2028 ของจังหวัดภูเก็ต ในปี 2571 โดยจะทำหนังสือแจ้งนานาชาติให้ ว่า ภูเก็ตไม่ควรเป็นเจ้าภาพ เพราะไม่ได้ดูแลสิ่งแวดล้อม และยังไม่ได้บริหารจัดการให้คนในจังหวัดได้ตื่นตระหนกตกใจกับภาวะโลกร้อน และมีวัฒนธรรมของการเป็นคนที่จะช่วย Change for Good เกิดขึ้น

เศรษฐศาสตร์.jpg2

ต่อมาภายหลังจากมีคลิปเผยแพร่ออกไป ล่าสุด นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ได้ออกมาชี้แจงว่า กรณีมีการเผยแพร่คลิปดังกล่าว เป็นการประชุมติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาลและภารกิจสำคัญของกระทรวง

โดยในประเด็นเรื่องการบริหารจัดการขยะของภูเก็ตนั้น ได้เสนอแนะให้ภูเก็ตเร่งขับเคลื่อนสร้างการรับรู้และส่งเสริมให้ประชาชนทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนครบทุกครัวเรือน ซึ่งในการประชุมได้ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และศรีสะเกษ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีผลการดำเนินงานครบ 100% อธิบายแนวทางให้จังหวัดที่ผลการปฏิบัติลำดับท้ายๆ คือ ภูเก็ต สมุทรปราการ และ พัทลุง ได้รับทราบก่อนนำไปปรับใช้ดำเนินการในพื้นที่

ส่วนกรณีการตำหนิและจะทำหนังสือให้จังหวัดภูเก็ตถอนตัวจากเป็นเจ้าภาพจัดงาน Specialised Expo 2028 ของจังหวัดภูเก็ตนั้น ปลัดกระทรวงมหาดไทย ชี้แจงว่า เป็นการกระตุ้นผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตและทีมงานให้เอาจริงเอาจังเรื่องสิ่งแวดล้อม กระตุ้นให้ภาคราชการของจังหวัดภูเก็ตช่วยกันขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง จนถึงปลายทาง วางระบบให้เกิดประโยชน์ โดยไม่ใช่เป็นการไปขัดขวางการเป็นเจ้าภาพจัดงานระดับโลก