การท่าเรือฯ เดินหน้าแผนจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ ตอกย้ำความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน

การท่าเรือฯ เดินหน้าแผนจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ, ตอกย้ำความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน

การท่าเรือฯ พร้อมเดินหน้าแผนจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ หลังผลการศึกษาทำได้จริง คุ้มค่าต่อการลงทุน ตอกย้ำความเชื่อมั่นนักลงทุนสามารถเปิดบริการเดินเรือเส้นทางในประเทศได้ทันทีและเส้นทางระหว่างประเทศภายใน 4 ปีแรก

นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษาโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติและแนวทางการพัฒนากองเรือพาณิชย์ไทยว่า “ตามที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้จ้างศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ทรานส์คอนซัลท์ จำกัด ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติและแนวทางการพัฒนากองเรือพาณิชย์ไทย ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการส่งเสริมพาณิชยนาวีและส่งเสริมให้มีการพัฒนาการขนส่งสินค้าทางน้ำ เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง และเพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าชายฝั่งภายในประเทศและการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือที่ชักธงไทย เสริมศักยภาพการแข่งขัน ลดการขาดดุลค่าระวางเรือให้กับเรือไทย”

“ขณะนี้ คณะที่ปรึกษาฯ ได้ดำเนินการศึกษาโครงการดังกล่าวทั้ง 4 ด้านแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย โดยผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการบริหารสายการเดินเรือแห่งชาติควรเน้นการร่วมลงทุนกับภาคเอกชนในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 25 มีความเหมาะสมและคล่องตัวในการบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่รวดเร็ว เป็นการดึงจุดเด่นของภาครัฐและภาคเอกชนมาร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งทางชายฝั่งของไทยให้ก้าวไกลยิ่งขึ้น ซึ่งก็มีกลุ่มผู้ประกอบการและนักลงทุนให้ความสนใจร่วมลงทุนในธุรกิจสายการเดินเรือแห่งชาติจำนวนหลายราย”

“สำหรับเส้นทางการเดินเรือภายในประเทศพบว่า มี 9 เส้นทางที่มีความเหมาะสมสามารถเปลี่ยนจากการขนส่งทางบกมาสู่ทางน้ำได้ แต่มี 3 เส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการลงทุนและไม่ทับซ้อนกับเส้นทางที่มีเอกชนดำเนินการอยู่ก่อนหน้า โดยมีผลตอบแทนทางการลงทุนอยู่ที่ร้อยละ 7.71 ประกอบด้วยเส้นทางท่าเรือมาบตาพุต (ระยอง) – ท่าเรือแหลมฉบัง (ชลบุรี) เส้นทางท่าเรือไฟร์ซัน (สมุทรสงคราม) – ท่าเรือแหลมฉบัง (ชลบุรี) และเส้นทางท่าเรือแหลมฉบัง (ชลบุรี) – ท่าเรือสุราษฎร์ธานี”

ธุรกิจ การท่าเรือฯ

“ด้านเส้นทางการเดินเรือต่างประเทศนั้นได้พิจารณารูปแบบการให้บริการเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 (First Phase) เป็นบริการเดินเรือไม่ประจำเส้นทาง (Tramp Service) ให้บริการขนส่งสินค้าประเทศเทกอง (Bulk Cargo) คาดการณ์ส่วนแบ่งปริมาณสินค้าที่จะมาใช้บริการสายเรือแห่งชาติร้อยละ 2 คิดเป็น 1.2 ล้านตัน ขีดความสามารถในการให้บริการจำเป็นต้องจัดหาเรือประเภท (1) เรือขนาด Handy Max ขนาด 32,000 เดทเวทตัน จำนวน 3 ลำ ให้บริการปีละ 8 รอบ (2) เรือขนาด Supra Max ขนาด 50,000 เดทเวทตัน จำนวน 2 ลำ ให้บริการปีละ 5 รอบ ระยะที่ 2 (Second Phase) เป็นการให้บริการเดินเรือบรรทุกตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ (Container Service) ให้บริการในเส้นทางเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง) อาเซียน (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม) และกลุ่มประเทศ BIMSTEC (อินเดีย และเมียนมา)”

“ประเภทสินค้าที่ส่งออกจากไทย รวมปริมาณส่งออก 20.0 ล้านตัน สำหรับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศรวมปริมาณนำเข้า 9.1 ล้านตัน เบื้องต้นคาดการณ์ปริมาณสินค้าที่จะมาใช้บริการเรือบรรทุกตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ของบริษัทสายการเดินเรือแห่งชาติ ร้อยละ 2 ของการส่งออกและนำเข้า คิดเป็นจำนวนตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ 31,005 TEUs ขนาดของเรือที่จะเข้ามาให้บริการเป็นเรือตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ขนาด 1,500 TEUs (Feeder Size) จำนวน 4 ลำ แต่ละลำทำรอบหมุนเวียน 8 รอบต่อปี”

“เชื่อมั่นว่าการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติและการพัฒนากองเรือพาณิชย์ไทยจะเกิดขึ้นได้จริงในเร็ววันนี้ และสามารถพัฒนาเป็นสายการเดินเรือแห่งชาติที่มุ่งตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการขนส่งทางชายฝั่งและทางทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย มีมาตรฐานและสนับสนุนการพาณิชยนาวีของไทย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ผ่านการจ้างงานในธุรกิจการเดินเรือและกำไรที่ได้จากผลประกอบการ ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางอ้อมไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น การต่อเรือ การประกันวินาศภัยทางทะเล เป็นต้น รวมถึงผลประโยชน์เชิงคุณภาพที่ไม่สามารถคิดเป็นตัวเงินได้อีกด้วย”

“ทั้งนี้ การท่าเรือฯ จะนำผลการศึกษาดังกล่าวนำเสนอต่อกระทรวงคมนาคม เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ โดยตั้งเป้าหมายเปิดให้บริการเดินเรือประจำเส้นทางในเส้นทางชายฝั่งของไทยภายในปีแรกของการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติและเปิดให้บริการขนส่งสินค้าด้วยเรือไม่ประจำเส้นทางในเส้นทางระหว่างประเทศได้ภายใน 4 ปีแรกของการจัดตั้ง” ผอ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าว

ข่าวธุรกิจเพิ่มเติม>>>>“มูจิ” ปรับโมเดลใหม่เข้าใกล้ผู้บริโภคไทยมากขึ้น

“มูจิ” ปรับโมเดลใหม่เข้าใกล้ผู้บริโภคไทยมากขึ้น

ผู้บริโภคไทยน่าจะรู้จักและคุ้นเคยกับแบรนด์มูจิ (Muji) บริษัทค้าปลีกประเทศญี่ปุ่นจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ และอาหาร เป็นต้น

กับจุดขายที่แข็งแกร่งคือการออกแบบที่มีคุณภาพพร้อมความสวยงามแบบมินิมอลสไตล์ญี่ปุ่นในราคาสมเหตุสมผล หนึ่งในกลยุทธ์ความสำเร็จของ Muji ก็คือการไม่มีแบรนด์ติดในตัวสินค้า ดึงดูดผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งในตลาดที่เบื่อกับการบริโภคนิยมและต้องการทางเลือกที่สดชื่นแทนสินค้าแบรนด์ดั้งเดิม ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่จำกัดให้น้อยที่สุดและจำกัดสีธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ของบริษัทดูสวยงามดึงดูดใจผู้บริโภค

“มูจิ” ปรับโมเดลใหม่เข้าใกล้ผู้บริโภคไทยมากขึ้น
ข่าวแนะนำ
“เอ็มจี” รุกรถยนต์ไฟฟ้าเต็มสูบ แนะนำสตาร์ต ZS EV ถูกวิธี!
“เอ็มจี” รุกรถยนต์ไฟฟ้าเต็มสูบ แนะนำสตาร์ต ZS EV ถูกวิธี!
มังกรฟ้า กลับมาผงาด ทำมาร์เก็ตเพลสลอตเตอรี่ ดราก้อนแรร์ เอาใจสายพระเครื่อง
มังกรฟ้า กลับมาผงาด ทำมาร์เก็ตเพลสลอตเตอรี่ ดราก้อนแรร์ เอาใจสายพระเครื่อง
เจาะลึกก้าวสำคัญของเนสท์เล่กับเส้นทางพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน
เจาะลึกก้าวสำคัญของเนสท์เล่กับเส้นทางพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน
สำหรับในตลาดประเทศไทย Muji ได้ร่วมทุนกับทางกลุ่มเซ็นทรัล ดูเหมือนว่า Muji ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ปัจจุบันมี 29 สาขา แต่ด้วยปัญหาหลักก็คือสินค้าที่จำหน่ายในตลาดประเทศไทยมีราคาสูง ซึ่ง Muji เองพยายามทำราคาลงอย่างต่อเนื่อง

แต่จนถึงขณะนี้ผู้บริโภคชาวไทยยังมีความรู้สึกว่าราคาจำหน่ายยังคงสูงอยู่ อีกทั้งสถาน การณ์แข่งขันในตลาดมีความรุนแรงมากขึ้น ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นยังส่งผลให้ Muji ประเทศไทยจำเป็นต้องพลิกปรับโมเดลธุรกิจครั้งใหญ่ทั้งการปรับสโตร์ให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้นให้ประสบการณ์เหมือนกันไปช็อปปิ้งที่สโตร์ในประเทศญี่ปุ่น

“มูจิ” ปรับโมเดลใหม่เข้าใกล้ผู้บริโภคไทยมากขึ้น
พร้อมกับการเพิ่มโซนใหม่จำหน่ายสินค้าราคาต่ำกว่า 300 บาท เพิ่มช่องทางการขายทั้งออนไลน์ออฟไลน์ไปพร้อมกับกลยุทธ์ปรับราคา และการนำสินค้าที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์กับตลาดอาเซียนที่ไม่มีจำหน่ายในญี่ปุ่นมาจำหน่าย เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายและสร้างการรับรู้ว่าแบรนด์ Muji จำหน่ายสินค้าในราคาจับต้องได้ไม่แพงอย่างที่คิดกัน

“มูจิ” ปรับโมเดลใหม่เข้าใกล้ผู้บริโภคไทยมากขึ้น
นายอกิฮิโร่ คาโมการิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มูจิ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ทาง Muji ได้ปรับพื้นที่ในสโตร์ให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อสร้างประสบการณ์เหมือนการเดินในสโตร์ที่ประเทศญี่ปุ่นตามคำเรียกร้องของผู้บริโภค โดยได้เริ่มที่สาขาสามย่านมิตรทาวน์ที่มีขนาดใหญ่ถึง 2,000 ตารางเมตรพร้อมสินค้าหลากหลายและบริการครบครัน

สำหรับสาขาใหม่ Muji เซ็นทรัล ชลบุรี ได้เปิดเป็นสาขาใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกบนพื้นที่ 1,500 ตารางเมตร และสาขาล่าสุดที่โรบินสันไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์ นนทบุรี เป็นโมเดลโรดไซด์ หรือร้านรูปแบบใกล้ริมถนน สาขาแรกที่เปิดกับศูนย์การค้าขนาดใหญ่ติดถนน ออกแบบร้านให้เป็น 2 ชั้น บนพื้นที่ 1,700 ตารางเมตร พร้อมสินค้ากว่า 3,000 รายการ

“มูจิ” ปรับโมเดลใหม่เข้าใกล้ผู้บริโภคไทยมากขึ้น
นายคาโมการิกล่าวว่า Muji โรบินสันไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์ ยังเป็นสาขานำร่องเปิดโซนขายสินค้าราคาต่ำกว่า 500 เยน ซึ่งเพิ่งเป็นโมเดลใหม่เปิด ณ บริเวณสถานี รถไฟมิทากะ กรุงโตเกียว ในประเทศญี่ปุ่นและประสบความสำเร็จ โดยรวบรวมสินค้าคุณภาพดีราคาต่ำกว่า 100 บาท 200 บาท และ 300 บาท ในหลากหลายหมวดหมู่ ช่วยให้ Muji เข้าถึงกลุ่มลูกค้าคนไทย ที่ต้องการซื้อสินค้าสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ด้วยราคาที่เข้าถึงได้ง่ายและมากขึ้น

“การขยายเข้ามาในทำเลราชพฤกษ์เป็นศูนย์รวมที่พักอาศัยระดับบนไปจนถึงระดับกลาง แหล่งรวมผู้บริโภคกำลังซื้อสูง เนื่องจากไม่แออัด สงบ สภาพแวดล้อมและอากาศดี ราคาที่ดินไม่สูงเมื่อเทียบกับเขตกรุงเทพฯชั้นกลาง-ชั้นใน การเดินทางเชื่อมโยงเข้าใจกลางเมืองหรือออกนอกเมืองสะดวก สิ่งอำนวยความสะดวกครบครันไม่ต้องเข้าเมือง”

“มูจิ” ปรับโมเดลใหม่เข้าใกล้ผู้บริโภคไทยมากขึ้น
“มูจิ” ปรับโมเดลใหม่เข้าใกล้ผู้บริโภคไทยมากขึ้น
สำหรับแผนการขยายสาขาต่อไปตั้งเป้าจะขยายสโตร์เพิ่มอีก 10 สาขาภายในเวลา 2 ปี จะขยายไปตามศูนย์การค้าที่มีขนาดเล็กลง เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในชุมชนต่างๆ ได้มากขึ้น ขณะที่โมเดลธุรกิจใหม่ๆ จะทำให้ผู้บริโภคคนไทยมีโอกาสเข้าถึงสินค้าของ Muji ได้มากขึ้นได้ใช้สินค้าสไตล์มินิมอลในราคาที่จับต้องได้.

ธุรกิจ.jpg2

อ่านข่าวเพิ่มเติม : PTT Powering Talk ตอบทุกเรื่อง เพื่อพลังงานแห่งอนาคต

PTT Powering Talk ตอบทุกเรื่อง เพื่อพลังงานแห่งอนาคต

กว่า 44 ปี ที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อยู่คู่กับประเทศไทย ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ และการเป็นส่วนหนึ่งที่พาคนไทยก้าวผ่านวิกฤติพลังงานน้ำมันหลายต่อหลายครั้ง

ภายใต้วิสัยทัศน์ “Thai Premier Multinational Energy Company” ปัจจุบัน ปตท. ได้บรรลุเป้าหมายทั้งการเป็นบริษัทที่มีมาร์เก็ตแคปมูลค่าสูงและทำธุรกิจที่ติดอันดับโลก แต่เพื่อก้าวต่อไปในฐานะธุรกิจด้านพลังงานและปิโตรเคมีอย่างครบวงจร ปตท. ได้ปรับวิสัยทัศน์องค์กรใหม่ในรอบ 15 ปี เป็น “Powering Life with Future Energy and Beyond” เพื่อตอกย้ำการก้าวไปสู่พลังงานรูปแบบใหม่ในอนาคต และมุ่งตอบโจทย์ในเรื่องของ Powering Life โดยมีหัวใจหลักที่ให้ความสำคัญคือ New Energy ธุรกิจพลังงานอนาคต รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ธุรกิจใหม่ที่ไปไกลกว่าพลังงาน

ปตท. ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์เพื่อเสริมศักยภาพขยายการลงทุนธุรกิจไฟฟ้าจาก พลังงานหมุนเวียน ซึ่งมีเป้าหมายเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า แตะ 8,000 เมกะวัตต์ ในปี 2573 รวมถึงยังมีการจับมือพันธมิตรทางธุรกิจต่างๆ

ทั้งนี้ เนื่องจากพลังงานแห่งอนาคตยังเป็นเรื่องใหม่ ที่หลายๆ คน ยังมีเรื่องสงสัยในหลายประเด็น อาทิ ประเทศไทยสามารถก้าวเข้าสู่วงการ EV ได้ไหม? ธุรกิจนี้เติบโตและไปไกลได้แค่ไหน? ซื้อรถ EV แล้วจะชาร์จที่ไหน? และทำไมต้องให้ความสำคัญกับพลังงานแห่งอนาคต? ปตท. จึงจัด “PTT Powering Talk” วงสนทนาร่วมคุยกับ 6 พันธมิตรทางธุรกิจในเครือ ปตท. ผู้อยู่เบื้องหลังพลังร่วมขับเคลื่อนทุกชีวิต เพื่อพลังแห่งอนาคต โดยมีหัวข้อทั้งการพัฒนา EV Changer Platform และ EV Station การจัดตั้งบริษัท SWAP & GO เพื่อลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า

ธุรกิจใหม่ๆ

ธีระยุทธ พิบูลรุจนานนท์ Strategy Manager บริษัท อรุณ พลัส จำกัด กล่าวถึงความพร้อมของประเทศไทยต่อตลาดรถ EV โดยส่วนสำคัญที่เล็งเห็นความสำคัญของรถ EV มาจากทั้งปัจจัยภายนอกคือ Global Trend หรือ Go Green Go Electric และปัจจัยภายในคือเรื่องของการซัพพอร์ตนโยบายจากภาครัฐ โดยมีการขับเคลื่อน EV เพื่อที่จะเปลี่ยนถ่ายจากอุตสาหกรรมเครื่องยนต์เดิมเป็นอุตสาหกรรมไฟฟ้า และ ปตท. จากวิสัยทัศน์ใหม่ โดยมีส่วนสำคัญอย่างหนึ่งคือ EV Value Chain

นอกจากนี้ ปรเมษฐ์ ห้อยสังวาลย์ Head of Platform Development Department บริษัท ฮอริซอน พลัส จำกัด ยังเสริมด้วยว่า เรามีการร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกจับมือกับบริษัท Foxconn ของไต้หวันมาจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ซึ่งเป็นบริษัทที่ดูแลเรื่องการผลิตรถยนต์ EV ในประเทศไทย ซึ่งโรงงานจะผลิตทั้งรถยนต์สำเร็จรูปและตัว EV Platform เพื่อนำไปประกอบรถยนต์ได้

สำหรับการรองรับความต้องการใช้รถยนต์ EV ที่เพิ่มมากขึ้น โทรณ หงศ์ลดารมณ์ Head of EV charger Business บริษัท อรุณ พลัส จำกัด กล่าวว่า ภายใต้แบรนด์ออน-ไอออน (on-ion) ของบริษัทอรุณพลัส มีการรองรับการเติบโตของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ ด้วยการเปิดให้บริการสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบทั่วประเทศ โดยใช้ พลังงานสะอาด เพื่อขับเคลื่อนและสนับสนุนให้คนไทยใช้พลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

และเรื่องความกังวลเรื่องการซื้อรถยนต์ EV รวมถึงประสิทธิภาพการใช้งานของรถยนต์ EV สุวิชชา สุดใจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการบริษัท อีวี มี พลัส จำกัด ตอบว่า อีวี มี พลัส บริษัทสตาร์ทอัพของ กลุ่ม ปตท. พร้อมมอบประสบการณ์การเป็นเจ้าของ EV ที่สะดวกยิ่งขึ้น ผ่านแอปพลิเคชัน EVme ซึ่งเป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มให้บริการ EV เต็มรูปแบบรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่สามารถเลือกใช้บริการซื้อหรือเช่า EV ได้ในราคาพิเศษ โดยมีตัวเลือกรถหลากรุ่นหลายแบรนด์ ตลอดจนให้บริการข้อมูลที่ตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ครอบคลุมทั่วประเทศ

อีกด้านหนึ่ง นอกจากการขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า ยังมีการให้ความสำคัญกับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเช่นกัน อาวีมาศ สิริแสงทักษิณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สวอพ แอนด์ โก จำกัด ให้ข้อมูลว่า สวอพ แอนด์ โก ถูกจัดตั้งโดย ปตท. เป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม โครงสร้างพื้นฐาน และเครือข่าย Battery Swapping หรือการสลับแบตเตอรี่แก่ผู้ใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เพื่อรองรับการขยายตัวของผู้ใช้งานโดยมุ่งเน้นออกแบบกระบวนการใช้งานให้ง่าย สะดวก และทันสมัย ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Swap & Go เชื่อมต่อกับรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่รองรับการใช้งาน เพื่อตรวจสอบปริมาณแบตเตอรี่ ค้นหาตำแหน่งสถานีสลับแบตเตอรี่ จองแบตเตอรี่ใหม่ล่วงหน้า และมีระบบนำทางไปยังสถานี เมื่อไปถึงสถานีแล้ว สามารถสแกน QR Code เพื่อสลับแบตเดิมที่หมดกับแบตใหม่ที่พร้อมใช้งานในตู้ชาร์จด้วยตัวเองได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

สำหรับประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ที่เป็นหัวใจของยานยนต์ EV กมลยศ ชัยรัตน์ พนักงานพัฒนาธุรกิจอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการพาณิชย์ บริษัท นูออโว พลัส จำกัด กล่าวว่า บริษัท นูออโว พลัส เป็นพาร์ทเนอร์กับธุรกิจในเครือ ปตท. โดยจะดูแลและสนับสนุนเรื่องยานยนต์ไฟฟ้าตั้งแต่ 2 ล้อขึ้นไปจนถึง 4 ล้อ พร้อมดูแลเรื่องการกักเก็บพลังงานที่สามารถใช้ร่วมกันได้กับโซลาร์เซลล์

ทั้งหมดนี้ เป็นแค่ส่วนหนึ่งของวงสนทนาเท่านั้น หากยังไม่เต็มอิ่ม สามารถรับฟังรับชมคลิปเต็ม เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องธุรกิจพลังงานอนาคต EV จาก 6 พันธมิตรทางธุรกิจในเครือ ปตท. ผู้เบื้องหลังพลังร่วมขับเคลื่อนทุกชีวิต เพื่อพลังแห่งอนาคต แบบเต็มๆ ได้ที่ยูทูบ “PTT Powering Talk” สนทนาเบื้องหลังพลังร่วมขับเคลื่อนทุกชีวิต เพื่อพลังแห่งอนาคต